วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คุณภาพของซอฟต์แวร์




การจัดการคุณภาพของซอฟต์แวร์

สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ (Software Architecture: SA)
               เน้นการศึกษาเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมที่สนับสนุนการ พัฒนาการออกแบบโครงสร้าง และขั้นตอนวิธีขั้นสูงรวมทั้งการออกแบบการเชื่อมต่อระหว่างระบบกับระบบ เพื่อให้เกิดการบูรณาการซอฟต์แวร์จากระบบที่มีอยู่เดิมหรือระบบงานที่สร้าง ขึ้นใหม่ เพื่อให้เกิดบริการด้านซอฟต์แวร์ที่มีความน่าเชื่อถือและมีความปลอดภัย อีกทั้งยังสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ในปัจจุบันที่มีความ ยืดหยุ่นและมีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว

        ปัจจุบันได้มีการศึกษาและวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ในหลายด้าน ได้แก่            
1.             การพัฒนาต้นแบบเพื่อต่อยอดผลงานวิจัยและผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ เช่น Mobile Camera Sign Translator และ Web Citation Thailand เป็นต้น
2.             การศึกษาวิจัยเทคโนโลยีและขั้นตอนวิธีขั้นสูง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาซอฟต์แวร์ เช่น Agile Model และ UML & Code Generator เป็นต้น
3.             การพัฒนาต้นแบบเพื่อส่งเสริมการบูรณาการระบบ เช่น Enterprise Service bus (ESB) และ Data Cleansing Tool เป็นต้น
4.             การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์
        การปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Process Improvement: SPI)
                การปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Process Improvement: SPI) เน้นการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและได้ซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ มากขึ้น โดยมีขอบเขตการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
1.              
1.             การศึกษา วิจัย และพัฒนากระบวนการทำงานภายในหน่วยงานให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
2.             การจัดเก็บข้อมูลและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำกระบวนการมาตรฐานไปใช้ในการปฏิบัติงาน
3.             การพัฒนาเครื่องมือสนับสนุนงานด้านการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์
4.             การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ไปสู่แวดวงอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทย
        การทดสอบและตรวจวัดคุณภาพซอฟต์แวร์ (Software Testing and Quality Measurement: STQM)
                การทดสอบและตรวจวัดคุณภาพซอฟต์แวร์ (Software Testing and Quality Measurement: STQM) คือ การศึกษาเทคนิคและวิธีการในการตรวจสอบข้อผิดพลาดที่เหมาะสมกับการพัฒนา ซอฟต์แวร์ในลักษณะต่างๆ รวมทั้งการวัด Performance ของระบบซอฟต์แวร์ การกำหนดขั้นตอนและเกณฑ์ในการทดสอบ และการพัฒนาขั้นตอนเพื่อรองรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตลอดจนการสร้างเครื่องมือและเทคนิคสำหรับการทดสอบซอฟต์แวร์ที่ง่ายต่อการใช้ งาน ดังขอบเขตการดำเนินงานดังนี้
1.             การศึกษาวิจัยเทคนิค ขั้นตอน วิธีการ และเครื่องมือสนับสนุนการทดสอบ ทั้งในด้าน Function ด้าน Performance และด้านการทดสอบสำหรับผู้ใช้งานในสภาพแวดล้อมการทำงานจริง
2.             การพัฒนาบุคลากรสำหรับการทดสอบซอฟต์แวร์ในองค์กร และผลักดันให้ทุกโครงการเห็นความสำคัญของการทดสอบซอฟต์แวร์
3.             การ ริเริ่มหาแนวทางเพื่อจัดตั้งศูนย์การทดสอบซอฟต์แวร์ เพื่อกำหนดมาตรฐานและแนวทางการทดสอบซอฟต์แวร์ รวมทั้งเป็นแหล่งวิชาการเชิงเทคนิคและเครื่องมือการทดสอบด้าน Functional Testing และ Performance Testing
ที่มา http://www.nectec.or.th/index.php/2011-07-12-03-00-06/2011-07-12-03-01-25/-research-unit-ru/2011-05-18-03-09-52/2011-07-01-13-14-51.html

  กรณีศึกษา
 Webmaster ไม่มาดูแล Website มีความผิดหรือไม่
โดย Lawyerthai.com


หลายคนคงเคยเจอปัญหาแบบเดียวกับผม คือ เข้าไปดู Website ที่ชอบครั้งแล้วครั้งเล่า วันแล้ววันเล่า ก็พบว่า เจ้าของเวบหรือ Webmaster ไม่มาดูแล หรือมา Update เวบบ้างเลย โอยย มันช่างน่าหงุดหงิดเสียจริง ข่าวสารที่อยากเข้ามาดูก็พบว่าเป็นข่าวเก่าตั้งแต่ปีมะโว้ เรื่องราวต่างๆภายในเวบก็นิ่งสนิท หยุดอยู่กับที่ คงมีแต่ส่วนของ Webboard และ Guessbook เท่านั้นที่ยังคงมีความเคลื่อนไหวอยู่บ้าง จากบรรดาขาประจำทั้งหลาย (รวมทั้งผมด้วย)
ผมก็เลยลองมาคิดดูว่า การกระทำของ Webmaster ดังกล่าว ถือว่ามีความผิดตามกฎหมายหรือไม่ ก็ได้ความว่า ในเบื้องต้นหากไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ต้องบอกว่า ไม่มีความผิด เพราะการไม่มาดูแล Website ไม่ถือว่ามีความผิดตามกฎหมายแต่อย่างใด
แต่ปัญหามันจะเกิดหากว่า ใน Website ดังกล่าว เกิดมีเรื่องมีราว หรือเกิดมีคดีความขึ้น หรือเกิดเหตุที่ต้องพิพาทกันตามกฎหมาย ซึ่งอาจจะไม่ได้เกิดจากตัว Webmaster เลย กรณีนี้เราจะมาดูกันว่า Webmaster ต้องร่วมรับผิดกับการกระทำดังกล่าวด้วยหรือไม่
ขออนุญาตยกตัวอย่าง กรณีเวบ www.metalthai.com (ที่ผมชอบมาก ต้องเข้าไปดูทุกวัน) ในส่วนของกระทู้ มีการ Post ข้อความโต้ตอบกัน (ด่ากัน) ไปมา แล้วคราวนี้ลามปามไปพาดพิงถึงสถาบันต้องห้ามของสังคมไทย ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นความผิดอาญา แล้ว Webmaster ของ www.metalthai.com ต้องรับผิดด้วยหรือไม่
ในกรณีนี้ ตัวคนที่ Post ข้อความดังกล่าวย่อมต้องมีความผิดตามกฎหมายอาญาอยู่แล้ว และถ้า Webmaster มาเจอข้อความดังกล่าวแล้วยังเพิกเฉย ไม่รีบทำการลบ หรือแก้ไขข้อความนั้นเสีย Webmaster นั้นก็อาจจะมีความผิดด้วย (มีข้อยกเว้นให้อาจไม่ต้องรับผิด หากพิสูจน์ได้ว่าไม่ทราบหรือไม่รู้เห็นเรื่องดังกล่าวเลยจริงๆ แต่ทั้งนี้ก็ต้องเปรียบเทียบกับ Webmaster โดยทั่วๆไปด้วย-ผู้เขียน)
เช่นกันว่า หากบางเวบไซต์ ให้มีการ Post รูปภาพได้ แล้วคนที่มาเล่นก็ Post รูปโป๊ ลามกอนาจารเข้าไป เมื่อ Webmaster ไม่มาดูแล ก็จะไม่ได้เห็น(ไม่ได้ดู) ว่ามีอะไรเกิดขึ้น กรณีนี้ก็น่าจะถือว่ามีความผิดด้วยเช่นกัน แต่ก็ต้องดูด้วยว่าทาง Webmaster ได้วางมาตรการอย่างไรไว้บ้าง ในการป้องกันปัญหาดังกล่าว
แม้ว่ากฎหมายของไทยอาจจะยังไม่พัฒนาถึงขั้นเอาผิดทางอาญาได้ แต่ Webmaster ก็อาจมีความผิดตามกฎหมายแพ่งได้ แม้ว่าไม่ได้เป็นผู้ก่อความเสียหายขึ้นเอง แต่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยให้ร่วมรับผิดได้เช่นกัน
ท่าน Webmaster ทั้งหลาย หากได้อ่านบทความนี้แล้ว ก็ขยันหมั่นดูแล Website ที่อยู่ในความรับผิดชอบกันด้วยนะครับ เพราะถ้าจะต้องเป็นเรื่องเป็นราวกันแล้ว ต้องเสียทั้งเงินทอง เสียทั้งเวลา ดีไม่ดีอาจต้องเสียอิสรภาพ ไม่คุ้มค่าครับ
ท้ายนี้ ขอขอบคุณ คุณศรรณ ทองประเสริฐ Webmaster แห่ง www.metalthai.com ที่กรุณามาเป็นตัวอย่างให้ครับ
Heavy Metal Regards


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น