นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Protection Policy)
|
1) การเคารพในสิทธิในความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการเว็บไซต์ของสถาบันฯ
สถาบันฯ
ใช้มาตรฐานสากลและขั้นตอนการดำเนินงานที่เข้มงวดเพื่อ รักษาความปลอดภัยและป้องกันการนำข้อมูลของผู้ใช้บริการฯ
ไปใช้โดยมีเจตนาไม่สุจริต
2) ข้อมูลที่รวบรวมและเก็บรักษาไว้
สถาบันฯ จะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับท่านที่จำเป็น ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของบริการที่ท่านใช้ผ่านเว็บไซต์ของสถาบัน
เช่น การลงทะเบียนสมัครใช้บริการบางประเภท การลงทะเบียนกิจกรรมต่างๆ ที่ทำผ่านเว็บไซต์ของสถาบันฯ
สถาบันฯ จะเก็บบันทึกการเข้าออกโดยอัตโนมัติ เช่น หมายเลขไอพี (IP Address) เว็บไซต์ที่เข้าออกก่อนและหลัง ประเภทของโปรแกรมบราวเซอร์
(Browser) สถาบันฯ จะเก็บรวบรวม รักษา และใช้ข้อมูลเกี่ยวกับท่านในกรณีที่สถาบันฯ
พิจารณาแล้วเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ ต่อการทำงานของสถาบันฯ หรือเพื่อให้ท่านได้รับบริการที่ดี
สถาบันฯจะใช้ข้อมูลของท่านเให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
หรือเพื่อสร้างสรรค์และปรับปรุงบริการของสถาบันฯ
3) การเปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลที่สาม
สถาบันฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของท่านที่ได้เก็บบันทึกไว้
หรือข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถบ่งชี้ได้ว่าเป็นของท่านแก่บุคคลที่สาม เว้นแต่
ก) สถาบันฯ ได้รับความยินยอมจากท่าน
ข)
การให้ข้อมูลดังกล่าวเป็นไปเพื่อช่วยให้ท่านสามารถทำธุรกรรมที่ท่านประสงค์
ค) การเปิดเผยข้อมูลนั้น ๆ เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย
หรือตามคำสั่งของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
สถาบันฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของท่านแก่บุคคลที่สามเพื่อนำไปใช้ในการ
ดำเนินกิจกรรมทางการตลาด ได้แก่ การเสนอขายทางโทรศัพท์หรือการขายสินค้าทางไปรษณีย์ของสินค้าอื่นๆ
4) ความปลอดภัยของข้อมูล
สถาบันฯ ใช้มาตรการด้านความปลอดภัยที่เหมาะสมในการป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้
รับอนุญาตหรือการแก้ไขโดยไม่ได้รับอนุญาต ตลอดจนการเปิดเผย หรือการทำลายข้อมูล มาตรการเหล่านี้รวมถึงการตรวจสอบภายในสำหรับการรวบรวมข้อมูล
การจัดเก็บ และการดำเนินการของสถาบันฯ ตลอดจนมาตรการความปลอดภัย ได้แก่ มาตรการการเข้ารหัสและความปลอดภัยทางกายภาพที่เหมาะสม
เพื่อป้องกันการเข้าใช้งานระบบที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งสถาบันฯ เก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้
สถาบันฯ จำกัดการเข้าใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลไว้เพียงพนักงาน ผู้รับจ้าง
ที่จำเป็นต้องรู้ข้อมูลเพื่อดำเนินการต่างๆ ในนามของสถาบันฯ บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในการรักษาข้อมูลที่เป็นความลับ
และอาจถูกเลิกจ้างและดำเนินคดีทางอาญา หากฝ่าฝืนข้อกำหนดเหล่านี้
5) การยอมรับนโยบายส่วนบุคคล
ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าว
เอกสารฉบับนี้เป็นนโยบายการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และความลับของผู้ใช้บริการฉบับล่าสุดของสถาบันฯ
ซึ่งจะแทนที่นโยบายการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและความลับของสถาบันฯ สำหรับ
เว็บไซต์ของสถาบันฯ ฉบับอื่น ๆ ที่สถาบันฯ จัดทำขึ้นจนถึงปัจจุบัน ในอนาคตสถาบันฯ
อาจเปลี่ยนแปลงข้อความในนโยบายดังกล่าวโดยจะเผยแพร่ให้ทราบผ่านทางเว็บไซต์ นี้
6) ข้อแนะนำด้านการรักษาความปลอดภัยและความลับ
รายละเอียดที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงท่านใน
ฐานะผู้ ใช้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยที่สถาบันฯ ใช้ เพื่อให้ท่านมั่นใจได้ว่าข้อมูลทางด้านการสถาบันฯ
ของท่านจะมีความปลอดภัย
7) สถาบันฯ รวบรวมข้อมูลใด เมื่อใด
|
ที่มา:http://cwrmn.haii.or.th/cwrmn/ppp.html
กรณีศึกษาLawyerthai.com
Copy รูปภาพ/ข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทุกกรณีหรือเปล่า?
คงต้องยอมรับนะครับว่า ที่มนุษยชาติของเรามีเทคโนโลยีที่ก้าวไกลไปได้อย่างทุกวันนี้ก็เพราะเรา เรียนรู้จากในอดีต เราสามารถเรียนรู้จากความผิดพลาดของบุคคลอื่นแล้วนำมาพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ได้ การที่มีกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเข้ามาคุ้มครองลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ นั้นก็ใช่ว่าจะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ครับ จริงๆ แล้วการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญานอกจากจะเป็นการคุ้มครองผู้มีความ คิดริเริ่มแล้วยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ อีกด้วย เช่นในเรื่องสิทธิบัตร เมื่อเราไปจดทะเบียนให้กฎหมายคุ้มครอง เราก็ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับประดิษฐ์ของเราเพื่อให้บุคคลอื่นนำไปพัฒนา ต่อได้ เป็นต้นครับ
เรื่องลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์และเว็บไซต์ก็เช่นเดียวกันครับ ทุกวันนี้เห็นเว็บไซต์ต่าง ๆ ก็มีที่หน้าตาเหมือนกันบ้างคล้ายกันบ้างครับ เคยสงสัยไหมครับว่าการไป copy รูปภาพ/ข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทุกกรณีหรือเปล่า หลักก็คือไม่ว่ารูปภาพหรือข้อความใดๆ บนเว็บไซต์ของผู้อื่น เขาก็ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ครับ การจะไปทำซ้ำ ทำสำเนา หรือดัดแปลงแม้กับสิ่งเล็กน้อยบนเว็บไซต์ของผู้อื่นก็เป็นการละเมิด ลิขสิทธิ์ผิดกฎหมายนะครับ ถ้าจะทำก็ควรขออนุญาตเจ้าของเขาเสียก่อน อย่านึกว่าเจ้าของเขาจะไม่รู้นะครับ วันดีคืนดีเขารู้ขึ้นมาก็อาจถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา (ถ้าเป็นการกระทำเพื่อการค้า)ได้ และก็อย่าไปคิดนะครับ copy แค่รูปภาพ/ข้อความเล็กๆ น้อยๆ แล้วจะไม่ใช่การละเมิดลิขสิทธิ์คนอื่น เพราะเรื่องใกล้เคียงกันนี้เคยเป็นคดีเกิดขึ้นในอเมริกาเมื่อหลายปีก่อนครับที่บริษัท Apple Computer ฟ้องเรื่อง Microsoft เกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ใน Icon ครับ จำได้ไหมครับว่าไอ้ Icon ตัวเล็กๆ น่ะมันมีในเครื่อง Mac ของ Apple มาก่อนครับ พอ Microsoft ไปพัฒนาโปรแกรม windows ซึ่งก็มี Icon ด้วยเหมือนกัน แต่ไม่คุยกับเจ้าของเก่าก็เลยมีปัญหาครับ
อย่างไรก็ดี เรื่องการ Copy รูปภาพ/ ข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้ ก็คงจะมีข้อยกเว้นเหมือนกันอย่างที่ผมเคยเขียนถึงไปแล้วครับ คือถ้าเป็นการทำเพื่อการศึกษาก็ถือเป็นข้อยกเว้นของการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ก็ต้องมีการให้ credit กับเจ้าของลิขสิทธิ์เขานะครับ ผมว่าทางที่ดีถ้าจะไป copy อะไรมาก็ขออนุญาตเขาก่อนก็ดีนะครับ อ้อ ที่ผมเขียนมาทั้งหมดน่ะหมายถึงเว็บไซต์ที่เขาไม่ได้ระบุนะครับว่าให้ download ข้อความหรือรูปภาพได้ถ้าเขาระบุเอาไว้ได้ download ได้ ก็คงไม่ใช่การละเมิดลิขสิทธิ์ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น