วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จริยธรรมในการประกอบอาชีพคอมพิวเตอร์





จริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องการของสถานประกอบการเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้สถานประกอบการได้บุคลากรในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติที่เพียบพร้อม คือ
1. มาทำงานก่อนเวลาเข้าทำงานและเลิกหลังเวลาทำงาน 15 นาที
2. ปฏิบัติงานตามหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ
3. ความมีวินัย
4. มีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่
5. มีมนุษยสัมพันธ์
6. มีความสนใจใฝ่รู้
7. ความเชื่อมั่นในตนเอง
8. ความอดทนอดกลั้น

ที่มา: http://computer262.blogspot.com/
 การคุ้มครองความลับทางการค้าบนอินเทอร์เน็ต :: โดย Lawyerthai.com

การติดต่อสื่อสารและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ตนอกจากจะต้องคำนึงถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว ความลับทางการค้า (Trade Secret) ก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญซึ่งควรจะได้รับความคุ้มครองเช่นกันครับ ในขณะที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทยยังเป็นร่างอยู่ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองความลับทางการค้าได้มีผลใช้บังคับแล้วครับ คือ พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2545 นี้เอง เหตุผลหลักที่มีกฎหมายนี้ก็เพราะกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องละเมิดยังไม่ครอบคลุมเรื่องนี้ครับ
ตามกฎหมายดังกล่าว ความลับทางการค้าถือเป็นสิ่งที่โอนกันได้ โดยหลักเจ้าของมีสิทธิ์ที่จะเปิดเผย เอาไป หรือใช้ความลับทางการค้านั้น รวมถึงอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ได้ ส่วนการละเมิดความลับทางการค้าก็คือ การเปิดเผย เอาไปหรือใช้ความลับทางการค้าของผู้อื่นในลักษณะที่ขัดกับแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริต (คงต้องดูข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆ ไปครับ) การเปิดเผยความลับทางการค้าของผู้อื่นไม่ว่าทางสื่อใด ๆ (รวมทั้งอินเทอร์เน็ตด้วย) จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาทครับ และถ้าบุคคลที่เปิดเผยความลับเป็นบุคคลที่มีหน้าที่ดูแลความลับคือบรรดาเจ้าหน้าที่ทั้งหลาย ก็มีโทษสูงขึ้นครับ คือ จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 1 ถึง 2 ล้านบาท

อย่างไรก็ดี ใช่ว่าการเปิดเผยความลับทางการค้าของผู้อื่นจะมีโทษเสมอไปครับ กฎหมายเขากำหนดข้อยกเว้นไว้เช่นกัน ประการแรกก็คือถ้าไม่รู้ว่าเป็นความลับทางการค้าของผู้อื่นก็ไม่ผิดครับ ประการต่อไปก็คือข้อยกเว้นอื่นๆ เช่นเพื่อประโยชน์สาธารณะ การค้นพบโดยอิสระ หรือโดยวิธีวิศวกรรมย้อนกลับ (reverse engineering) ครับ
กรณีที่มีการ ละเมิดความลับทางการค้า ผู้เสียหายก็มีทางเลือกหลายทางครับ คือ การร้องขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศสั่งระงับการละเมิด หรืออาจจะฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายครับ กรณีที่มีการฟ้องร้อง กฎหมายเขาก็กำหนดกลไกในการตกลงไกล่เกลี่ยระหว่างคู่กรณีเอาไว้ด้วยครับ
นอกจากการกำหนด หลักเกณฑ์ห้ามเปิดเผยความลับทางการค้าของผู้อื่นแล้ว กฎหมายดังกล่าวยังมีสาระสำคัญอีกประการหนึ่งคือการกำหนดเรื่องการรักษาความ ลับทางการค้าโดยหน่วยงานของรัฐเอาไว้ด้วย เพราะกรณีที่เอกชนขออนุญาตกระทำการใดๆ ต่อหน่วยงานของรัฐก็อาจต้องส่งข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้าเพื่อประกอบการ ขออนุญาตด้วยครับ เมื่อข้อมูลไปอยู่ในมือของรัฐ กฎหมายก็ต้องกำหนดหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐในการคุ้มครองข้อมูลดังกล่าวด้วย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น