ประเภทของการโจมตี
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว
ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์”
หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย
อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง
นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา
รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้
อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่
อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่
1.
การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม
อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
2.
การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม
แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
3.
การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ
(เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
4.
การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย
การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน
หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
5.
ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ
18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ
แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม
แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุม
ทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้ แย้งอย่างกว้างขวาง
6.
ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ
แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ
โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย
สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด
ที่มา: http://www.microsoft.com/thailand/piracy/cybercrime.aspx
ที่มา: http://www.microsoft.com/thailand/piracy/cybercrime.aspx
กรณีศึกษา
ละเมิดลิขสิทธิ์แล้วควรฟ้องผู้ทำผิดเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา?Lawyerthai.com .
เมื่อท่านถูกใครละเมิดลิขสิทธิ์ของ ท่าน แล้วท่านรู้ว่าไอ้ใครที่ว่านั้นเป็นใคร และการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นเป็นการกระทำเพื่อการค้า ท่านก็มีทางเลือกทางกฎหมายอยู่ 2 ทางครับ คือจะเลือกฟ้องผู้กระทำผิดเป็นคดีแพ่งหรือเลือกดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิด การเลือกดำเนินคดีอาญานั้นก็อาจจะทำได้ 2 ทางอีกเช่นกันครับ ทางหนึ่งคือไปแจ้งความกับตำรวจ ให้ตำรวจสอบสวน แล้วอัยการจะเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแทนท่านครับ อีกทางหนึ่งคือท่านไปเป็นโจทก็ฟ้องคดีต่อศาลเองโดยตรงเลยครับ
การเลือกฟ้องคดีแพ่งกับคดีอาญามีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันครับ ข้อแรกท่านคงต้องถามตัวเองว่าอยากได้อะไรจากการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดครับ ถ้าอยากจะได้ค่าเสียหายเป็นหลัก ก็ควรฟ้องคดีแพ่งครับ ถ้าต้องการให้คนละเมิดลิขสิทธิ์เข็ดหลาบและต้องการแสดงให้คนทั่วไปเห็นว่าคน ผิดควรรับโทษก็ไปแจ้งความหรือฟ้องคดีอาญาครับ ซึ่งถ้าเลือกจะดำเนินคดีอาญาก็ต้องรีบทำภายใน 3 เดือนนับแต่รู้ถึงการกระทำผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดครับ เพราะความผิดกฎหมายลิขสิทธิ์เป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ ครับ กฎหมายจะกำหนดอายุความทางอาญาไว้ค่อนข้างสั้น ส่วนถ้าจะดำเนินคดีแพ่งท่านก็มีเวลาในการตัดสินใจฟ้อง 3 ปีนับแต่รู้ถึงการกระทำผิดและรู้ตัวผู้ทำผิดครับ (คดีแพ่งเกี่ยวกับลิขสิทธิ์มีอายุความมากกว่าคดีแพ่งทั่วไปที่กำหนดไว้เพียง 1 ปีนับแต่รู้ถึงการทำผิดและรู้ตัวผู้ทำผิด)
การฟ้องคดีแพ่งกับคดีอาญามีเงื่อนแง่ทางกฎหมายที่แตกต่างกันครับ ที่ผมเคยพูดถึงตอนที่เล่าถึงคดีไมโครซอฟท์ - เอเทค ก็คือ คดีแพ่งจะไม่นำหลักผู้เสียหายทางนิตินัยมาใช้ครับ กรณีปัญหาข้อกฎหมายเรื่องล่อซื้อก็จะไม่เป็นอุปสรรค อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นจุดต่างก็คือ เรื่องมาตรฐานการพิสูจน์ครับ พูดให้ง่าย ๆ ก็คือ ถ้าท่านฟ้องคดีแพ่ง ท่านมีโอกาสชนะคดีมากกว่า เพราะในคดีแพ่งเพียงแต่ถ้าพยานหลักฐานของท่านมีน้ำหนักมากกว่าฝ่ายจำเลย (เช่น 51 : 49) ศาลก็จะตัดสินให้ท่านชนะคดีแล้วครับ เรียกมาตรฐานการพิสูจน์นี้โก้ ๆ เป็นภาษากฎหมายว่า preponderance of evidence ครับ ส่วนในคดีอาญานั้นแค่ 51 : 49 น่ะ ไม่พอครับ ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีก็ต่อเมื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นจนปราศจากข้อสงสัยตามสมควร (Proof beyond reasonable doubt) ครับว่ามีการทำผิดเกิดขึ้น และจำเลยที่ถูกฟ้องเป็นผู้กระทำผิด ถ้าจะเทียบเป็นตัวเลขก็คงต้องมากกว่า 80 : 20 ล่ะครับ
คดี ไมโครซอฟท์-เอเทคนั้นโจทก์เลือกฟ้องเป็นคดีอาญาครับ คงจะเพราะต้องการให้ผู้ทำผิดหลาบจำไม่คิดทำผิดอีก ซึ่งก็ทำให้ศาลนำหลักผู้เสียหายโดยนิตินัยมาใช้และมาตรฐานการพิสูจน์ก็เป็น ไปอย่างเข้มข้นครับ ส่วนท่านผู้อ่านที่คิดจะฟ้องคดีก็ควรชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียให้ดีก่อน ตัดสินใจนะครับ เพราะถ้าฟ้องคดีอาญาไปก่อนแล้วแพ้ อาจจะให้ฟ้องคดีแพ่งอีกไม่ได้นะครับ เพราะหลักกฎหมายเขามีว่า คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาครับ (แต่หลักนี้ก็มีรายละเอียดและข้อยกเว้นนะครับ ซึ่งคงไม่กล่าวในที่นี้ เพราะไม่อยากให้บทความนี้กลายเป็นตำรากฎหมายครับ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น