ถือเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามกติการะหว่าง ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งให้การรับรองและคุ้มครอง ไว้ในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐาน และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ เพราะเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นสะท้อนถึงธรรมาภิบาลและความเป็น ประชาธิปไตยของประเทศหรือองค์กรนั้นๆ เพราะผู้ปกครองที่เปิดใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็น การวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชน หรือคนในองค์กรทั้งด้านบวกและด้านลบแล้ว ย่อมเป็นโอกาสในการนำไปปรับปรุงประเทศ
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 45 "บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัว หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน" มาตรา 56 "บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ..." มาตรา 57 "บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับ ข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ...และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว..." รวมถึงขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งให้การรับรองและคุ้มครองไว้ในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐาน อาทิ "บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ทั้งนี้ ไม่ว่าด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือการตีพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือโดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ตนเลือก"
กรณีศึกษา
แสดงความคิดเห็นทางเว็บไซต์จะมีความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาทหรือเปล่า ?Lawyerthai.com

ผมเคยเขียนถึงเรื่องการส่ง e-mail ไปหมิ่นประมาทผู้อื่นมาแล้ว วันนี้เราลองมาดูกันว่าการแสดงความคิดเห็นทางเว็บไซต์ต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์จะมีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่
ท่านผู้อ่านเคย สงสัยเรื่องนี้กันไหมครับ ผมมีประสบการณ์กับตัวเองก็ตอนช่วงที่มีข่าวว่าลูกนักการเมืองดังคนหนึ่งไป พัวพันกับคดีฆาตกรรมตำรวจกองปราบ ปรากฏว่ามีคนไปแสดงความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ กันอย่างล้นหลาม ซึ่งข้อความที่มีการแสดงความคิดเห็นนั้น ถ้ามองจากมาตรฐานของกฎหมายแล้วก็น่าจะเป็นการหมิ่นประมาท ผมก็มานั่งคิดว่าอย่างนี้แล้วจะผิดไหม แต่ก็มานึกถึงเหตุ ยกเว้นความผิดความหมิ่นประมาทตามกฎหมายไทยซึ่งมีเหตุหนึ่งที่กฎหมายบัญญัติ ว่ าถ้าเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความเพื่อติชมด้วยความเป็นธรรมตามวิสัย ของประชาชนย่อมกระทำ พูดกันง่าย ๆ ให้เราๆ ท่าน ๆ เข้าใจก็คือ การติชมตามความรู้สึกของคนทั่วๆ ไปโดยสุจริตไม่มีความผิดนั่นเอง
นอกจากนั้นนัก กฎหมายยังมีความเห็นว่าบุคคลเช่นนักการเมืองหรือดาราภาพยนตร์ เป็นบุคคลที่ต้องเสนอตัวต่อประชาชน (public figure) ซึ่งย่อมอยู่ในวิสัยที่ประชาชนจะติชมด้วยความเป็นธรรมได้ อย่างไรก็ตาม เท่าที่ผมศึกษาดูคำพิพากษาศาลฎีกาที่ผ่านมา การจะวินิจฉัยว่าอย่างไรเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมก็ดูยากเหมือนกันครับ ดังนั้น ถ้าจะแสดงความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ก็ควรต้องระวังกันด้วยนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น