|
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
อนุมัติ หลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่ว
ถึงและเท่าเทียมกัน พ.ศ. .... (กำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและ เท่าเทียมกัน)
ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงบประมาณและข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะ รัฐมนตรี
(เกี่ยวกับการให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
เป็น สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติต่อไป แทน การจัดตั้งหน่วยงานใหม่
ซึ่งไม่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเรื่องมาตรการควบคุมค่าใช้จ่าย ฯ รวมทั้งให้ชะลอการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
โดยค่าใช้จ่ายในการบริหารและการดำเนินงานตามนโยบายของคณะกรรมการเทคโนโลยี สารสนเทศแห่งชาติ
สำนักงบประมาณจะจัดสรรงบประมาณให้ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป สำหรับตำแหน่งประธานคณะกรรมการ
ฯ เห็นควรกำหนดให้นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็น ประธาน
และแก้ไขคำว่า "ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ..."
เป็น "ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ..." ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน)
ไปพิจารณา ทั้งนี้ ให้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณาด้วย โดยประเด็นการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ
ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ (ปรร.) พิจารณา หากมีความเห็นประการใดให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อประกอบการตรวจพิจารณาต่อไป
ที่มา: http://www.soc.soc.go.th/SLK/showlist3.asp?pagecode=906&pdate=2000/11/07&pno=1&pagegroup=1
|
กรณีศึกษา
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
The
personnel performance development of municipal District of
Kamalasai
district, Kalasin.
จวน เพียรภายลุน
ประสิทธิ์ คชโคตร ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์
Chuan Pianpailoon
1 Prasit Kotchakot
2 Thitirat Laokhompruttajarn
3
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง
จังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์ 1)
เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลสระพังทอง
2)
เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบล สระพังทอง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้
ได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง
จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 400
คน
ผลการศึกษาพบว่า
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
: กรณีศึกษาเทศบาลตำบล สระพังทอง อำเภอเขาวง
จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย
ได้ดังนี้ ร่วมจัดทำแผนพัฒนา ร่วมกำหนดความต้องการ ร่วมตรวจสอบ ร่วมติดตามและประเมินผล
แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง
จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่
เทศบาลควรส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอปัญหาภายในชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดความต้องการ
และควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น
ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เสนอความคิดเห็น
เพื่อนำไปสู่การวางแผนพัฒนา
ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่วมพิจารณากำหนดวิธีการและแนวทางในการพัฒนา
และเทศบาลควรสนับสนุนงบประมาณในการส่งเสริมสนับสนุนการวางแผนพัฒนา ควรมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนา
เพื่อความโปร่งใสในการบริหารงาน และสามารถตรวจสอบได้ ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประชุม
และควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบข้อมูล
และควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการตามแผนพัฒนา และควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบผลการดำเนินงานของเทศบาล
คำสำคัญ : การมีส่วนร่วม, โครงสร้างพื้นฐานของท้องถิ่น
ABSTRACT
The objectives of
this paper were
1) to study the
participation of the public in the development of the infrastructure of Sapangtong Municipality
2) to study the ways to develop the participation of the public in the
development of the infrastructure of Sapangtong Municipality.
The sample was a group of 400 people in Sapangtong Municipality, Khao Wong District, Kalasin Province.
The
result found that:
The participation of the public in the development of the infrastructure
of Sapangtong Municipality, in general
is at an average level. When considered
at an individual aspect, it revealed that all aspects were at the middle level.
The mean values are ranging from
maximum to minimum values as followings: participation in identifying
need, in designing a developing plan ,
in monitoring and carrying out the assessment of the plan,
respectively.
Suggestions to improve the levels of
people’s participation in the development of the infrastructure of the Local administration : a case study
of Sapangtong Municipality,
Khao Wong District, Kalasin
Province.
The municipality should encourage the people to participate in all
steps of development planning process - the raising of problems within a
community, encouraging the people to participate in identifying needs,
Moreover, the public should be encouraged to take more active parts in setting
goals of local development plans.
The public should have more channels to take part in solving
problems and giving comments to lead to the formulation of alternatives in
development plans. The public should be encouraged participate more in making
choices as to the procedures and guidelines for development.
The municipality should allocate more budgets to finance
development planning activities. There should be a greater opportunities for
public participation in the preparation of development plans. People should be
given roles and duties to take part in feasibility study process.
The public should be involved to participate in the meeting so that
they can air their grievances and be informed about infrastructure development
projects . The public should be encouraged to participate in the monitoring and
evaluating of the development projects. Finally, the public should be empowered
to participate in monitoring the performance of the municipality personnel.
Keyword : Participation, The infrastructure of the Local.
บทนำ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่น และระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึง
และเท่าเทียมกัน ทั่วประเทศ
ภาครัฐได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นอย่างมาก
เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ถูกสร้างขึ้นมา
เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร จึงถือว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นองค์ประกอบสำคัญของเทศบาลในการสร้างความเจริญมาสู่ท้องถิ่น
การพัฒนาท้องถิ่นด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็นการพัฒนาที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายแก่ประชาชน
โดยจะต้องมีการร่วมมือทั้งทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน
เพราะประชาชนจะรู้ปัญหาและความต้องการรวมถึงวิธีการในการแก้ไขปัญหาในท้องถิ่น
หากประชาชนไม่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นด้านโครงสร้างพื้นฐานแล้ว
จะส่งผลให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความล่าช้า
ถ้าขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนจะทำให้การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่แท้จริง
จากเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทำการศึกษาวิจัยว่า
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ว่าประชาชนในเขตเทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ในระดับใด เพื่อที่จะนำผลการศึกษาวิจัยที่ได้ไปเป็นแนวทางปรับปรุงส่งเสริมความสามารถในการมีส่วนร่วมของประชาชน
และพัฒนาท้องถิ่นให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
และหลักพื้นฐานของการปกครองตนเองในระบอบประชาธิปไตยในโอกาสต่อไป
และทราบถึงแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อนำไปพัฒนา การมีส่วนร่วมของประชาชนและท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับท้องถิ่น และประเทศชาติ
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ของเทศบาลตำบลสระพังทอง
2. เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ของเทศบาลตำบลสระพังทอง
ขอบเขตของการศึกษา
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากร (Population)
ที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบล สระพังทอง
อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 2,358
คน (สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ณ
เดือน สิงหาคม 2555)
1.2 กลุ่มตัวอย่าง
(Sample) ที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่
ประชาชนในเขตเทศบาลตำบล สระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่
18 ปี ขึ้นไป จำนวน 400 คน ซึ่งได้มา โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามสูตร ของ
ทาโร่ ยามาเน่ (สุภาวดี จันทะเสน. 2553 : 28; อ้างอิงจาก
วิเชียร เกตุสิงห์. 2541 : 21)
และใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างโดยการใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple
Random Sampling)
2. ขอบเขตพื้นที่การศึกษาวิจัย คือ เทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัย
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง
จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ
ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยดังต่อไปนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2.
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การจัดทำกับข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร (Population)
ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง
จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 2,358 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง (Sample) ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป
จากการคำนวณจะได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ
400 คน จากจำนวนประชาชนผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไปทั้งหมด 2,358 คน สัดส่วนกลุ่มตัวอย่างในบ้านดงหวาย
หมู่ที่ 1 เท่ากับ 62 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิจัยครั้งนี้
คือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนอายุตั้งแต่ 18
ปี ขึ้นไปต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง
จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนได้แก่
ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลสระพังทอง
อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบสำรวจรายการ (Checklist)
มีจำนวน 6 ข้อ ประกอบด้วย เพศ อายุ
ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน อาชีพ สถานภาพการสมรส
ตอนที่ 2 ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลสระพังทอง
อำเภอ เขาวง
จังหวัดกาฬสินธุ์ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)
5 ระดับ ได้แก่ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย ร่วมกำหนดความต้องการ 6 ข้อ
ร่วมจัดทำแผนพัฒนา 6 ข้อ ร่วมตรวจสอบ 6 ข้อ ร่วมติดตามและประเมินผล 6 ข้อ รวมทั้งหมด 24 ข้อ
ตอนที่ 3 แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบล สระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.
ดำเนินการจัดทำแบบสอบถามจำนวนเท่ากับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
2. ขอหนังสือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ ถึงนายกเทศมนตรีตำบลสระพังทอง
อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ชี้แจงวัตถุประสงค์
เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปเป็นส่วนประกอบในการวิจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
:กรณีศึกษาเทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
3. ผู้วิจัยประสาน กำนัน – ผู้ใหญ่บ้าน ทั้ง 7 หมู่บ้านในตำบลสระพังทอง
อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
เพื่อขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม
ตามวันและเวลาที่นัดหมาย
4. ผู้วิจัยนำแบบสอบถามซึ่งได้จัดเตรียมไว้แล้วนำส่งประชาชนกลุ่มตัวอย่างด้วยตัวเอง
ตามที่นัดหมายไว้ เพื่อแนะนำตัวพร้อมชี้แจงวัตถุประสงค์และประโยชน์ของการวิจัย
อธิบายวิธีการตอบแบบสอบถามอย่างละเอียดถึงวิธีการตอบในข้อที่น่าจะเป็นที่สงสัย
ขออนุญาตแจกจ่ายแบบสอบถามการวิจัย
การแจกแบบสอบถามแก่ประชาชนกลุ่มตัวอย่างดังตารางที่ 2 วันละ 2 หมู่บ้าน ยกเว้นวันสุดท้ายแจกแบบสอบถามจำนวน
1 หมู่บ้าน
5. นำแบบสอบถามที่ได้รับคืนมาตรวจสอบจำนวน
และความสมบูรณ์ของข้อมูล
เพื่อเตรียมพร้อมในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. การจัดทำข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการประมวลผลข้อมูลดังนี้
1.1 นำแบบสอบถามที่รวบรวมได้มาตรวจสอบความสมบูรณ์
และความถูกต้องและให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
1.2
จัดหมวดหมู่ข้อมูลและบันทึกคะแนนลงในแบบรหัส (Coding
form)
1.3 การให้คะแนนคำตอบในแบบสอบถาม
ใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating
Scale)
โดยวิธีการของลิเคิร์ท มี 5 ระดับ คือ
1.4
วิเคราะห์ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง
จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยการหาค่าเฉลี่ย (
)
และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
2. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้ใช้สถิติในการวิเคราะห์ ดังนี้
1. หาร้อยละ (Percentage) เพื่อพิจารณาแบบสอบถามที่ได้รับคืน
2. หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation )
3.
ค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและตามโครงสร้าง
โดยหาความสอดคล้องของความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ
ระหว่างข้อคำถามแต่ละข้อกับลักษณะเฉพาะกลุ่มพฤติกรรม โดยใช้สูตร
ค่าดัชนี IOC ที่คำนวณได้มากกว่าหรือเท่ากับ 0.5 ของกลุ่มพฤติกรรมนั้น ข้อคำถามใดมีค่าดัชนีต่ำกว่า 0.5 ข้อคำถามนั้นควรตัดออกไปหรือนำไปปรับปรุงแก้ไข
1. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
สถิติที่ใช้ได้แก่ การแจกแจงความถี่ และร้อยละ
2. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ระดับการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของเทศบาลตำบลกมลาไสย
อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean)
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
3. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์การเปรียบเทียบระดับการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของเทศบาลตำบลกมลาไสย
อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
สถิติที่ใช้ได้แก่ การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Anowa) กรณีพบความแตกต่างจะพิสูจน์รายคู่โดยวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffe’s
method)
4. การวิเคระห์ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของเทศบาลตำบลกมลาไสย
อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
สถิติที่ใช้ได้แก่ การแจกแจกความถี่และการพรรณนาความ
ผลการวิจัย
จากการวิจัยเรื่อง
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 217 คน คิดเป็นร้อยละ 54.20 และเป็นเพศชาย จำนวน 183
คน คิดเป็นร้อยละ 45.80 ส่วนใหญ่มีอายุ 41 –
60 ปี จำนวน 240 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 รองลงมามีอายุ 18 – 40 ปี จำนวน 127 คิดเป็นร้อยละ 31.80 และมีอายุ
60 ปี ขึ้นไป จำนวน 33
คน คิดเป็นร้อยละ 8.20 ส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
จำนวน 280 คน คิดเป็นร้อยละ 70.00 รองลงมามีการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 55 คน
คิดเป็น ร้อยละ 13.80
รองลงมามีการศึกษาอื่น ๆ จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 12.40 และมีการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี จำนวน 15 คน
คิดเป็นร้อยละ 3.80 ส่วนใหญ่
มีรายได้ต่ำกว่า 5,000.- จำนวน 271 คน คิดเป็นร้อยละ 67.80
รองลงมามีรายได้ 5,000-10,000.- จำนวน 84 คน คิดเป็น ร้อยละ 21.00
และรองลงมามีรายได้สูงกว่า 10,000.- จำนวน 45 คน คิดเป็น ร้อยละ 11.20 ส่วนใหญ่ มีอาชีพเกษตรกรรม จำนวน
291 คน คิดเป็นร้อยละ 72.80 รองลงมามีอาชีพรับราชการ จำนวน 61 คน คิดเป็น
ร้อยละ 15.20 รองลงมามีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว จำนวน 28 คน คิดเป็น ร้อยละ 7.00 รองลงมามีอาชีพรับจ้าง จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 5.00 ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส จำนวน 321
คน คิดเป็นร้อยละ 80.30
รองลงมามีสถานภาพโสด จำนวน 49 คน คิดเป็น ร้อยละ 12.30 รองลงมามีสถานภาพหม้าย จำนวน 18 คน คิดเป็น ร้อยละ 4.40 และรองลงมา มีสถานภาพอย่าร้าง จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 3.00
2.
ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผลการวิจัย
ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง
จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
พบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้
ร่วมจัดทำแผนพัฒนา (
= 2.80) ร่วมกำหนดความต้องการ
(
= 2.76)ร่วมตรวจสอบ
(
= 2.75) ร่วมติดตามและประเมินผล (
= 2.72) และเมื่อพิจารณารายด้านและรายข้อ
พบว่า
2.1
ร่วมจัดทำแผนพัฒนา พบว่า การมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ
พบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกข้อ โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้คือ ประชาชนมีส่วนร่วมประชุมระดมความคิด ในการวางแผนพัฒนา
(
= 3.30) รองลงมาคือ ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอปัญหาที่นำไปสู่การวางแผนพัฒนา
(
= 2.95)
ประชาชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาที่นำไปสู่การวางแผนพัฒนา (
= 2.69) ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดวิธีการและแนวทางในการพัฒนา
(
= 2.64)
ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทรัพยากรที่ใช้ในการพัฒนา (
= 2.64)
และประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ในแผนพัฒนา (
= 2.62) ตามลำดับ
2.2
ร่วมกำหนดความต้องการ พบว่า การมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ
พบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกข้อ โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้
ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอปัญหาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (
= 3.00)
ประชาชนมีส่วนร่วมในการหาสาเหตุของปัญหาภายในชุมชน เพื่อพัฒนาท้องถิ่น (
= 2.90) ประชาชนมีส่วนร่วมจัดลำดับความสำคัญของความต้องการในการพัฒนาท้องถิ่น
(
= 2.74) ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกำหนดปัญหาของชุมชน (
= 2.70)
ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดความต้องการพัฒนาท้องถิ่น (
= 2.64)
และประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่น (
= 2.62) ตามลำดับ
2.3 ร่วมตรวจสอบ
พบว่า การมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมาก
จำนวน 1
ข้อ คือ ประชาชนทราบรายละเอียดของโครงการเช่น
ขนาด ผู้รับจ้าง งบประมาณ จากป้ายประกาศสีเขียวของโครงการ (
= 3.53) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
พบว่าอยู่ในระดับ ปานกลาง จำนวน 3 ข้อ
โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ประชาชนมีส่วนร่วม
ในการรับฟังร่างแผนพัฒนาเทศบาล (
= 2.93) ประชาชนได้รับทราบรายชื่อกรรมการตรวจรับการจ้างโครงการก่อสร้างเทศบาล
(
= 2.63) ประชาชนเคยทักท้วงถึงความไม่เห็นด้วยในกิจกรรม/โครงการพัฒนาของเทศบาล (
= 2.62) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
พบว่าอยู่ในระดับน้อย จำนวน 2 ข้อ โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้
ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินงานของเทศบาล (
= 2.50) และประชาชนมีบทบาทในการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของเทศบาล
(
= 2.30) ตามลำดับ
2.4 ร่วมติดตามและประเมินผล พบว่า
การมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 4 ข้อ
โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ประชาชนมีส่วนร่วมติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาเทศบาล
(
= 2.92) ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตามผลการดำเนินงานของคณะผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาล (
= 2.82) ประชาชนมีส่วนร่วมนำเสนอข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องของกิจกรรม/โครงการตามแผนพัฒนา (
= 2.82) ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์การประเมินผลตามโครงการพัฒนาเทศบาล
(
= 2.61)
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานพบว่าอยู่ในระดับน้อย จำนวน 2 ข้อ
โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินการพัฒนาเป็นประจำ
(
= 2.60) และประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลกิจกรรมตามแผนพัฒนา
(
= 2.56) ตามลำดับ
อภิปรายผลการวิจัย
จากการวิจัย
เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีประเด็นการวิจัยที่ควรนำมาอภิปรายผล ดังนี้
ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง
จังหวัดกาฬสินธุ์
จากการวิจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง
จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ที่เป็นเช่นนี้อภิปรายได้ว่า
หากการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการจัดทำแผนพัฒนาเพื่อนำไปสู่ผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ
มองเห็นความสำคัญของการร่วมกำหนดความต้องการ ร่วมจัดทำแผนพัฒนา ร่วมตรวจสอบ
ร่วมติดตามและประเมินผล มาปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ พัชราศิณี ศิริโกมุท (บทคัดย่อ : 2547)
ได้ศึกษาปัญหาการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม พบว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอโกสุมพิสัย มีปัญหาการดำเนินการ เพื่อก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นโดยรวมและรายด้าน
อยู่ในระดับ ปานกลาง
สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น มีไม่มากนัก
ได้แก่ประชาชนมีโอกาสรับทราบข่าวสารการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
อำเภอโกสุมพิสัย ของประชาชนที่มี เพศ รายได้ต่อเดือน
แตกต่างกันอาจมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประชาชนที่มีอายุ
อาชีพ และระดับการศึกษาต่างกัน
มีปัญหาการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลไม่แตกต่างกัน อภิปรายผลเป็นรายด้าน ดังนี้
1.
ร่วมกำหนดความต้องการ พบว่า
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอปัญหา
เพื่อพัฒนาท้องถิ่น อีกทั้งประชาชนมีส่วนร่วมในการหาสาเหตุของปัญหาภายในชุมชน
เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ประชาชนมีส่วนร่วมจัดลำดับความสำคัญของความต้องการในการพัฒนาท้องถิ่น
ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกำหนดปัญหาของชุมชน ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดความต้องการพัฒนาท้องถิ่น
และประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ ดิเรก
ปะวะเสริม (บทคัดย่อ : 2553) ได้ศึกษาปัญหาการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนการจัดทำแผนพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก
โดยรวมจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน
เห็นว่ามีปัญหาการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาตำบล
โดยรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน คือ
ด้านการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา ด้านการวางแผนดำเนินการ
ด้านการลงทุนและปฏิบัติงาน และด้านการติดตามและประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง
ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีปัญหาการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก
ด้านการลงทุน และปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา
และอาชีพต่างกันมีปัญหาการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก
โดยรวมและเป็นรายด้านทุกด้าน ไม่แตกต่างกัน
2.
ร่วมจัดทำแผนพัฒนา
พบว่า การมีส่วนของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ประชาชนมีส่วนร่วมประชุมระดมความคิดในการวางแผน รองลงมาคือ
ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอปัญหาที่นำไปสู่การวางแผนพัฒนา ประชาชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาที่นำไปสู่การวางแผนพัฒนา ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดวิธีการและแนวทางในการพัฒนา
ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทรัพยากรที่ใช้ในการพัฒนา และประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการพัฒนา
ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ สายันต์ ภิรมย์กิจ(บทคัดย่อ
: 2547) ได้ศึกษาบทบาทของเทศบาลตำบลหนองบัวระเหว
ในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
พบว่าประชาชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทเทศบาลในการสร้างการมีส่วนร่วม
และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
และประชาชนที่มีอายุแตกต่างต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทเทศบาลในการสร้างการมีส่วนร่วม
และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นโดยรวมไม่แตกต่างกัน
ประชาชนที่มีการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทเทศบาลในการสร้างการมีส่วนร่วม
และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เทศบาลควรเปิดโอกาสให้ประชาชน
และประชาชนต้องให้ความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นให้มากขึ้นกว่านี้
3.
ร่วมตรวจสอบ พบว่า
การมีส่วนของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ประชาชนทราบรายละเอียดของโครงการเช่น ขนาด ผู้รับจ้าง
งบประมาณ จากป้ายประกาศ สีเขียวของโครงการ
ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับฟังร่างแผนพัฒนาเทศบาล ประชาชนได้รับทราบรายชื่อกรรมการตรวจรับการจ้างโครงการก่อสร้างเทศบาล ประชาชนเคยทักท้วงถึงความไม่เห็นด้วยในกิจกรรม/โครงการพัฒนาของเทศบาล
และประชาชนมีบทบาทในการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของเทศบาล และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ
ปราณี ทองขันธ์ (บทคัดย่อ
: 2550) ได้ศึกษา เรื่อง
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลยางเนิ้ง
อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
และระบบบริการพื้นฐาน และปัญหาอุปสรรคในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานผลการศึกษาพบว่าประชาชนมีบทบาทในการมีส่วนร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
อยู่ในระดับปานกลาง
ส่วนประเด็นระดับความพึงพอใจด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงการก่อสร้างถนน
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงการวางท่อระบายน้ำ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงการก่อสร้างสะพาน
โดยสรุปปรากฏว่าความพึงพอใจของประชาชนตรวจสอบได้ในระดับปานกลาง
จากผลการศึกษาดังกล่าวอาจเป็นเพราะในการเข้ามามีส่วนร่วมนั้น
ผู้นำชุมชนจะเป็นตัวแทนภาคประชาชนร่วมเสนอความต้องการ
และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
ประกอบกับเทศบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีบทบาทในการกำหนดขั้นตอนการทำงาน
การตรวจสอบการดำเนินงานผ่านตัวแทนประชาคมหมู่บ้าน
จึงทำให้แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนา
ในส่วนปัญหาอุปสรรคในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนานั้น
ประชาชนต้องการให้สมาชิกสภาเทศบาลมีความสามัคคี จริงใจต่อการพัฒนา
เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบเสนอแนะแนวทาง
เพื่อให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตรงกับความต้องการของประชาชนและเกิดผลประโยชน์สูงสุด
4.
ร่วมติดตามและประเมินผล
พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก
ประชาชนมีส่วนร่วมติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาเทศบาล
ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตามผลการดำเนินงานของคณะผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาล ประชาชนมีส่วนร่วมนำเสนอข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องของกิจกรรม/โครงการตามแผนพัฒนา
ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์การประเมินผลตามโครงการพัฒนาเทศบาล ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินการพัฒนาเป็นประจำ
และประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลกิจกรรมตามแผนพัฒนา และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ สิทธิพร แพงย้อย (บทคัดย่อ
: 2553) ได้ศึกษาเรื่อง
ผลการดำเนินงานการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (ถนน) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม
อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (ถนน) ของหมู่บ้านในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 และศึกษาความคิดเห็นของประชาชน ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์
ผลการศึกษาพบว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม อำเภอ วชิรบารมี จังหวัดพิจิตร
มีการดำเนินงานด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (ถนน)
ของหมู่บ้านโดยต้องการให้สร้างถนนคอนกรีต ถนนลูกรัง และถนนลาดยาง
ได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบล
ผลการดำเนินการตรงกับมติที่ประชุม
หน้าที่ในการดำเนินงานด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (ถนน) ของหมู่บ้าน 1)
กรรมการเปิดซอง 2) กรรมการตรวจรับ 3) กรรมการยื่นข้อเสนอ
สำหรับความคิดเห็นด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
หากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุมสามารถดำเนินการได้ตามผลที่ศึกษาแล้ว
จะทำให้มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
สรุปผลการวิจัย
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง
จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย
ได้ดังนี้ ร่วมจัดทำแผนพัฒนา ร่วมกำหนดความต้องการ ร่วมตรวจสอบ ร่วมติดตามและประเมินผล
แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง
จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่
เทศบาลควรส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอปัญหาภายในชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดความต้องการ
และควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น
ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เสนอความคิดเห็น
เพื่อนำไปสู่การวางแผนพัฒนา ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่วมพิจารณากำหนดวิธีการและแนวทางในการพัฒนา
และเทศบาลควรสนับสนุนงบประมาณในการส่งเสริมสนับสนุนการวางแผนพัฒนา ควรมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนา
เพื่อความโปร่งใสในการบริหารงาน และสามารถตรวจสอบได้ ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประชุม
และควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบข้อมูล
และควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการตามแผนพัฒนา และควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบผลการดำเนินงานของเทศบาล
ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้
1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1. ร่วมกำหนดความต้องการ
1.1
เทศบาลควรส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการเสนอปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานภายในชุมชน
เพิ่มขึ้น
1.2
เทศบาลควรส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดความต้องการในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
เพิ่มขึ้น
1.3 เทศบาลควรให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมการตัดสินใจกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น
1.4
เทศบาลควรจัดเวทีประชาคมเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการหารือจัดลำดับ
และความสำคัญของประเด็นปัญหาต่างๆ เพิ่มขึ้น
2. ร่วมจัดทำแผนพัฒนา
2.1
เทศบาลควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เสนอปัญหา
ความคิดเห็น เพื่อนำไปสู่การวางแผนพัฒนา เพิ่มขึ้น
2.2
เทศบาลควรให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการร่วมพิจารณา
วิเคราะห์ปัญหาที่นำไปสู่การวางแผนพัฒนา เพิ่มขึ้น
2.3 เทศบาลควรจัดเวทีประชาคมเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทรัพยากรที่ใช้ในการตัดสินใจ กำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์
และการทำงานร่วมกันในอนาคต เพิ่มขึ้น
2.4
เทศบาลควรสนับสนุนงบประมาณในการส่งเสริมสนับสนุนการวางแผนพัฒนาเพิ่มขึ้น
2.5 เทศบาลควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ในแผนพัฒนา
เพิ่มขึ้น
2.6
เทศบาลควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดวิธีการและแนวทางในการพัฒนา
เพิ่มขึ้น
3.
ร่วมตรวจสอบ
3.1
เทศบาลควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
เพิ่มขึ้น
3.2 เทศบาลควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีบทบาทในการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของเทศบาล
เพื่อความเป็นโปร่งใสในการบริหารงาน เพิ่มขึ้น
3.3
เทศบาลควรเปิดโอกาสให้ประชาชนทักท้วงถึงความไม่เห็นด้วยในกิจกรรม/โครงการพัฒนาเทศบาล
เพิ่มขึ้น
3.4
เทศบาลควรประชาสัมพันธ์รายชื่อกรรมการตรวจรับการจ้าง
โครงการก่อสร้างของเทศบาล เพิ่มขึ้น
3.5
เทศบาลควรรักษาระดับการรับทราบรายละเอียดของโครงการเช่น
ขนาดผู้รับจ้าง งบประมาณ จากป้ายประกาศสีเขียวของโครงการ
4. ร่วมติดตามและประเมินผล
4.1
เทศบาลควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการประเมินผลกิจกรรมตามแผนพัฒนา เพิ่มขึ้น
4.2 เทศบาลควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการประเมินผลการพัฒนา เพิ่มขึ้น
4.3
เทศบาลควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์การประเมินผลตามโครงการพัฒนาเทศบาล เพิ่มขึ้น
4.4
เทศบาลควรให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการประชุม และควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบข้อมูล
เพิ่มขึ้น
ข้อเสนอปรับปรุงส่งเสริมการมีส่วนร่วม
1. การให้ข้อมูลข่าวสาร (Inform)
ถือเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับต่ำที่สุด แต่เป็นระดับที่สำคัญที่สุด เช่น
มีเจ้าหน้าที่หอกระจายข่าวที่ทำหน้าที่สม่ำเสมออย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
เช่น เอกสารสิ่งพิมพ์ ผ่าน อสม. /
อปพร. เป็นต้น
2. การรับฟังความคิดเห็น (Consult)ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงและความคิดเห็นเพื่อประกอบการตัดสินใจของหน่วยงานภาครัฐด้วยวิธีต่าง
ๆ เช่น การประชุม การสอบถาม มีตู้ร้องทุกข์ มีสายด่วน
3.
การเกี่ยวข้อง (Involve)
เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน
หรือร่วมเสนอแนะทางที่นำไปสู่การตัดสินใจ เช่น
การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาประเด็นนโยบายสาธารณะ ประชาพิจารณ์
การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเสนอแนะประเด็นนโยบาย เป็นต้น
4.
ความร่วมมือ (Collaboration)
เป็นการให้กลุ่มประชาชนผู้แทนภาคสาธารณะมีส่วนร่วม โดยเป็นหุ้นส่วนกับภาครัฐในทุกขั้นตอนของการตัดสินใจ
และมีการดำเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เช่น
กลุ่มอาชีพ กลุ่มสุขอนามัย กลุ่มระดมทุน
กลุ่มสตรี
5. การเสริมอำนาจแก่ประชาชน (Empower) เป็นขั้นที่ให้บทบาทประชาชนในระดับสูงที่สุด
โดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ เช่น การลงประชามติในประเด็นสาธารณะต่าง ๆ
โครงการกองทุนหมู่บ้านที่มอบอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจทั้งหมด เป็นต้น
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป เป็นข้อเสนอแนะการวิจัยเชิงปริมาณ
2.1 ควรมีการศึกษาความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าในหน่วยงานให้กับบุคลากรเทศบาลตำบลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของพนักงานแต่ละคน ซึ่งเป็นแนวทางที่จะได้มาซึ่งประสิทธิภาพของคนและประสิทธิภาพของงาน หรือการที่จะพัฒนาหน่วยงานและองค์กรให้ดีขึ้น
2.2
ควรมีการศึกษาและพัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติงานให้กับบุคลากรเทศบาลตำบลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อศึกษาปัจจัยต่างที่มีมีผลต่อการพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร
เพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุงเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรในหน่วยงาน
เพื่อให้ประสิทธิภาพในการทำงานให้องค์กรต่อไป
2.3 ควรศึกษา
ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของของ เทศบาลตำบลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินงาน
รวมถึงหาแนวทางการมีส่วนร่วมในชุมชน ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ
มาใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป
กิตติกรรมประกาศ
งานวิจัยนี้
สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีเพราะได้รับความกรุณาอย่างดียิ่งในการให้แนวคิดคำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการวิจัยจากอาจารย์
ดร. ประสิทธิ์ คชโคตร
ซึ่งเป็นประธานกรรมการที่ปรึกษาการทำวิจัย อาจารย์ ดร. ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์ เป็นกรรมการที่ปรึกษาการทำวิจัย ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
ขอขอบพระคุณ นายวันใหม่
วรรณทอง
นายกเทศมนตรีตำบลสระพังทอง
ผู้นำหมู่บ้านชุมชนทุกแห่งในเขตเทศบาลตำบลสระพังทอง กลุ่มตัวอย่างในเขตเทศบาลตำบลสระพังทอง ทุกท่านที่กรุณาตอบแบบสอบถามสำหรับเป็นข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้
รวมทั้งเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลสระพังทองทุกท่านที่ช่วยเหลือเป็นอย่างดี รวมทั้งกำลังใจจากเพื่อนร่วมรุ่น
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต รุ่นที่
3 ทุกท่าน
เอกสารอ้างอิง
ดิเรก ปะวะเสริม. ได้ศึกษาปัญหาการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนการจัดทำแผนพัฒนา ตำบลของของ
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก. การศึกษา
ค้นคว้าอิสระ
รปม. มหาสารคาม
: มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม, 2553.
ปราณี ทองขันธ์. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลยางเนิ้ง
อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้า
อิสระรัฐศาสตร์บัณฑิต (สาขาวิชา การเมืองและการ
ปกครอง) เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
2550.
พัชราศิณี ศิริโกมุท.
การดำเนินงานขององค์การบริหารส่วน
ตำบลที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนใน
การพัฒนาท้องถิ่น
: กรณีศึกษาอำเภอโกสุมพิสัย
จังหวัดมหาสารคาม.
การศึกษาค้นคว้าอิสระ รป.ม.
มหาสารคาม
: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.
สายยันต์ ภิรมย์กิจ.
บทบาทของเทศบาลตำบลหนองบัวระเหว
ในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
พัฒนาท้องถิ่น.
การศึกษาค้นคว้าอิสระ รป.มมหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.
สิทธิพร แพงย้อย. ผลการดำเนินงานการพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐาน(ถนน) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม
อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร. รายงานการศึกษา
อิสระ รปม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น,
2553.